“การออกกำลังกายให้ประโยชน์แก่ร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การฝึกฝนพิเศษสามารถช่วยป้องกันการล้ม ช่วยปรับปรุงกิจวัตรประจำวัน และป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้”
อาการของโรคพาร์กินสัน
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอาจประสบกับอาการของโรคหลายอย่างในเวลาเดียวกัน โดยอาการหลักของโรคประกอบด้วยการเคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อยึด การเดินลำบาก และการล้ม โดยอาการเหล่านี้พัฒนาไปอย่างช้าๆ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคแทรกซ้อนในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น กระดูกสันหลังเสื่อม ความเจ็บปวด และการบาดเจ็บ
ความสำคัญของการรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด และการรักษาโดยกิจกรรมบำบัดในการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
การทำกายภาพบำบัดมีประโยชน์ต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เนื่องจากการรักษาโดยการใช้กายภาพบำบัดเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และสร้างเสริมความยืดหยุ่นและความสามารถในการเคลื่อนไหวรวมทั้งช่วยแก้ปัญหาท่าเดินและการทรงตัว การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด และการออกกำลังกายอาจจะช่วยไม่ให้โรคพาร์กินสันพัฒนาและก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน การบำบัดด้วยกิจกรรมสามารถช่วยให้ผู้ป่วยในรายที่มีความยากลำบากในการทำกิจกรรมภายในบ้าน การกลืน และการพูด
การแทรกแซงการรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด และการรักษาโดยกิจกรรมบำบัด
การออกกำลังกาย
การเพิ่มการออกกำลังกายได้รับการพิสูจน์ว่ามีส่วนสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ไม่จำกัดเพียงแค่ในผู้ป่วยด้วยโรคพาร์กินสันเท่านั้น โดยการออกกำลังกายสามารถป้องกันโรคในระดับทุติยภูมิ (เน้นความแข็งแรง ความอึด ความยืดหยุ่น การฝึกการใช้งานตามหน้าที่ และการทรงตัว) การออกกำลังกายเพื่อป้องกันเซลล์สมอง (neuroprotection) เน้นความอึด การออกกำลังโดยใช้หลักการฝึกฝนการเคลื่อนไหวโดยใช้วิธีการ เช่น การจินตนาการทางความความคิด การฝึกฝนในทำสองสิ่งในเวลาเดียวกัน การออกกำลังกายแบบกลุ่มช่วยเพิ่มคุณค่าโดยการส่งเสริมให้มีการพูดคุยในชุมชนเพื่อให้ผู้ป่วยเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายโดยใช้วิธีดังกล่าวอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยต้านสภาวะความซึมเศร้าได้
การทำกิจกรรมกรรมคู่
กิจกรรมกรรมคู่ เช่น การเดินพร้อมกับการพูดเป็นกิจกรรมที่ยากลำบากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การฝึกฝนโดยใช้หลักการฝึกฝนการเคลื่อนไหวในกระบวนการคิดช่วยให้ผู้ป่วยปรับปรุงความสามารถในการทำกิจกรรมสองอย่างไปพร้อมกันได้ และอาจจะช่วยปรับท่าทางการเดิน การทรงตัว และความคิดได้ด้วย
การฝึกการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์
กลยุทธ์การให้สัญญาณ (Cueing Strategies) (สัญญาณการมองเห็น การได้ยิน) ช่วยจัดการปัญหาการเคลื่อนไหวที่พบในท่าทางการเดินของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้ เราสามารถเห็นผลลัพธ์จากสัญญาณจากภายนอก และการให้ความสนใจในการปรับปรุงระยะการก้าวเดิน การยืนค้าง และการหมุนระหว่างการฝึกเดินได้ทันที ในกิจวัตรประจำวัน ได้ทันที การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง การรักษาด้วยการเคาะจังหวัง และเส้นแถบบนพื้นสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกผู้ป่วยที่ได้ผลเช่นเดียวกัน
การฟื้นฟูและระยะเวลา
การฟื้นฟูและการออกกำลังกายควรเริ่มทำเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันซึ่งสามารถเห็นผลได้ภายในสองถึงสามสัปดาห์ โดยได้รับการแนะนำให้ทำร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ตลอดระยะเวลาที่มีอาการของโรค