ทำไม Shockwave ถึงเป็นโปรแกรมยอดระงับปวดยอดนิยม

การทำ Shockwave คืออะไร ทำไมการทำ Shockwave จึงเป็นที่แนะนำ

  • การทำ Shockwave เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เป็นก้อนจากการที่ใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอยู่ตลอดเวลา หลักการของเครื่อง Shockwave คือ การส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-injuries) บริเวณกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่มีอาการปวดอักเสบ จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อใหม่ (Re-healing) 

 

ทำไมการทำ Shockwave จึงเป็นที่แนะนำ

  • นอกจากเครื่อง Shockwave จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดแล้ว การทำ Shockwave ยังทำให้ร่างกายมีการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวด ทำให้สามารถลดอาการปวดได้ทันทีหลังการรักษา

 

สาเหตุหลัก ๆ ของอาการปวด

  • โดยปกติคนไข้ที่เข้ารับการทำ Shockwave มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย สาเหตุของอาการเหล่านี้มักเกิดจากการที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งอยู่ตลอดเวลา จนกล้ามเนื้อกลายเป็นแผ่น เป็นก้อนนูน ทำให้เลือดไปเลี้ยงได้น้อยลง ในขณะเดียวกันก้อนนูนก็จะมีเส้นประสาทไปเลี้ยงอยู่ด้วย พอกดก็จะเกิดอาการเจ็บและร้าวได้ ยิ่งสำหรับคนไข้ที่ปวดร้าวตรงช่วงบ่า ช่วงคอ เลือดจะขึ้นไปเลี้ยงร่างกายช่วงบนได้น้อย โดยเฉพาะสมองจะทำให้รู้สึกตื้อและมีอาการปวดศีรษะตามมาได้

 

ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นอย่างไร

  • หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมจะทำให้อาการปวดมีความรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อที่มีการหดเกร็งอยู่ตลอดเวลานั้น หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้กล้ามเนื้อไปกดทับเส้นประสาทจนเกิดอาการชา เป็นตะคริวและปวดร้าวรุนแรง นอกจากนี้จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องจากก้อนกล้ามเนื้อขยายใหญ่จนขวางการเดินของเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงศีรษะได้

 

ก่อนเข้ารับการทำ Shockwave ควรเตรียมตัวอย่างไร

คำแนะนำพื้นฐานก่อนเข้ารับการทำ Shockwave ที่คลินิก

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง 

  • ไม่ต้องอดอาหาร 

  • วัดความดันก่อนเข้ารับการทำ Shockwave ทุกครั้ง

 

หลังเข้ารับการทำ Shockwave ควรดูแลต่ออย่างไร

เนื่องจากหลังการทำ Shockwave อาจมีการปวดระบมเพราะแรงกระตุ้น จึงแนะนำให้คนไข้

  • ประคบเย็น Cold Pack หรือ นวดน้ำแข็ง Ice Message 

  • ยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดการระบมของกล้ามเนื้อ 

  • หลังจากการทำ Shockwave ไม่ควรนวด เนื่องจากการทำ Shockwave คือการทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ การนวดจะยิ่งทำให้ร่างกายอักเสบมากขึ้น อาการจะยิ่งแย่ลง

 

ควรทำ Shockwave ติดต่อกันนานแค่ไหน

 

  • การทำ Shockwave แนะนำให้ทำเฉลี่ยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพราะการทำ Shockwave เป็นการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบก่อนเพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตนเอง หลังการทำ Shockwave แต่ละครั้งจึงควรเว้นระยะเพื่อให้ร่างกายได้พักหลังจากผ่านช่วงการอักเสบไป และควรทำ Shockwave ต่อเนื่องอย่างน้อย 3-4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ว่ามีความปวดรุนแรงแค่ไหน

  •  

รู้สึกอย่างไรถึงเรียกว่าปกติ

  • ระหว่างการทำ Shockwave แล้วมีความรู้สึกเจ็บหรือปวดถือเป็นเรื่องปกติของการทำ Shockwave เนื่องจาก การทำ Shockwave คือการส่งคลื่นกระแทกเข้าไปที่กล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการอักเสบและให้ร่างกายซ่อมแซมตนเอง แต่อาการปวดระหว่างการทำ Shockwave นั้นขึ้นอยู่กับบุคคล และการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดไหนเป็นพิเศษ เช่น พนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำคอมพิวเตอร์นาน ๆ จะต้องวางแขนลงบนโต๊ะ 

 

บุคคลที่เหมาะกับการทำ Shockwave

การทำ Shockwave เหมาะกับกลุ่มคนที่มีอาการปวดตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

1. กลุ่มคนที่มีอาการปวดเรื้อรังตามข้อต่อต่างๆของร่างกาย (เกิดได้จากหลายสาเหตุ)

● Jumper's Knee : อาการปวดข้อเข้า ในนักกีฬากระโกดสูง นักกีฬาบาสเกตบอล นักกีฬาวอลเล่ย์บอล นักกีฬาวิ่งระยะสั้น

● Painful Shoulder : อาการปวดข้อไหล่ ได้แก่ แคลเซียมสะสมที่เอ็นหัวไหล่ (Calcific Tendinitis) , กลุ่มอาการกดเบียดในข้อไหล่ (Shoulder Impingement Syndrome) , ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)

● Tennis Elbow : อาการปวดข้อศอกบริเวณด้านนอก

● Heel Spur : อาการปวดส้นเท้า อันเนื่องมาจากมีหินปูนเกาะส้นเท้า/กระดูกงอกบริเวณส้นเท้า

● Insertional Pain : อาการปวดบริเวณจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อ อันเนื่องมาจากความเสื่อม/การอักเสบ

● Chronic tendinopathy : อาการเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง

● Shin Splints (Medial Tibial Stress Syndrome) : อาการปวด/อักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหน้าแข้ง

● Hip Pain : อาการปวดบริเวณข้อต่อสะโพก

 

2. กลุ่มคนที่นั่งทำงานนานๆ/ใช้คอมพิวเตอร์ในออฟฟิศ

บุคคลที่มักมีพฤติกรรมที่ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อทุกบริเวณในร่างกาย (Myofascial Pain Syndrome : MPS)

มักสัมพันธ์กับคนที่มีอาการ ดังนี้

● ไมเกรน

● ปวดกราม ปวดต้นคอ

● ปวดหลัง ปวดเอว

● ปวดแขน ปวดขา

● ปวดข้อมือ/ฝ่ามือ 

 

บุคคลที่ไม่เหมาะกับการทำ Shockwave

การทำ Shockwave ไม่เหมาะกับบุคคลดังต่อไปนี้

  • บุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี 

  • ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ (Pregnancy) 

  • ผู้ที่การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Blood Clotting Disorder) 

  • ผู้ที่ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด/เกล็ดเลือด (Anti-Coagulant) 

  • ผู้ที่ได้รับการฉีดยาเสตียรอยด์มาภายใน 6 สัปดาห์ (Steroid Injection with 6 weeks) 

  • ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation 

  • ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเนื้องอกและกำลังได้รับการรักษาอยู่ (Tumor) 

  • ผู้ที่มีผิวหนังติดเชื้อ/ผิวหนังถลอก/แผลเปิด (Skin Infection/Skin Abrasion)

  • แชร์

แพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง