รักษาอาการ “ซึมเศร้า นอนไม่หลับ” แบบไม่ใช้ยา

รักษาอาการ “ซึมเศร้า นอนไม่หลับ” แบบไม่ใช้ยา

หากคุณเป็นคนที่กำลังประสบกับภาวะเครียด ซึมเศร้า กินไม่ได้ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย จนต้องทานยาเพื่อให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น?

เรามีอีกทางเลือกมาแนะนำสำหรับผู้นอนไม่หลับ แต่ไม่อยากทานยา คือ การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า TMS ( Transcranial Magnetic Stimulation )

โรคซึมเศร้ากับอาการนอนไม่หลับเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

โรคซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับมีความเกี่ยวข้องกันในแง่ของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสมอง โดยมีงานวิจัยพบว่าโรคซึมเศร้านั้นทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ นอนไม่เต็มอิ่ม จนตื่นเช้ามาด้วยความรู้สึกไม่สดชื่นและรู้สึกง่วงนอนระหว่างวัน ในทางกลับกัน อาการนอนไม่หลับอาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

 - นอนไม่หลับส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลงจนเกิดภาวะซึมเศร้า
 - นอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อระดับสารเคมีในสมองซึ่งเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า
 - นอนไม่หลับในเวลากลางคืนจะทำให้เกิดความคิดในแง่ลบมากขึ้นและกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมา
ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับยังเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนที่นอนหลับสนิทถึง 10 เท่า ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็เสี่ยงมีอาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น หากนอนหลับไม่เพียงพอ
 
TMS ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับอย่างไรบ้าง?
องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองการรักษาโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา(major depressive disorder) โดยมีหลักฐานงานวิจัยที่พบว่า ร้อยละ 40 ถึง 50 ชี้ให้เห็นว่าการบำบัดด้วยTMS ช่วยให้ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาระยะยาวและลดอัตราการฆ่าตัวตายในระยะเฉียบพลันลงได้ โดยTMSส่งคลื่นแม่เหล็กผ่านกระโหลกศีรษะเข้าไปกระตุ้นเปลือกสมองโดยตรงในตำแหน่งด้านหน้าซ้าย(DLPFC, dorsolateral prefrontal cortex) ส่งผลให้มีการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในเซลประสาทสมองในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์นี้ กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นยังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาทและปรับการทำงานของเซลประสาทได้โดยตรง (Neuroplasticity) 
โดยทั่วไปผู้ป่วยจะรู้สึกง่วงนอน เบาสบายในศีรษะ และบรรเทาอาการซึมเศร้าลงไปได้ ในกรณีส่วนใหญ่ หนึ่งในสามของผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วย TMS ต้องทำการบำบัดซ้ำทุกปีเพื่อป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้ากลับคืนมา
ปี คศ.2019 การศึกษาทบทวนอย่างเป็นระบบ (Systemetic Reviews) 3 การศึกษา และจากงานวิจัยที่มีกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม (RCT) อีก 5 เรื่อง พบว่า ในเชิงของประสิทธิภาพและความคุ้มค่า TMS ดีกว่าและคุ้มค่ากว่าการใช้ยาและการช็อตไฟฟ้า (ECT) การรักษาด้วยการกระตุ้นด้วยความถี่สูงที่สมองด้านหน้าซ้ายหน้าจำนวน 3000 คลื่นต่อครั้ง 5 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อเนื่องกัน 4-6 สัปดาห์ ได้ผลดีที่สุด 
 
ที่มา: พบแพทย์.com, Sukumvithospital

 

  • แชร์

แพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง