โปรแกรมรักษาฟื้นฟูหลอดเลือดสมองตีบ

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

          ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด เดินเซ ทรงตัวลำบาก

 

โปรแกรมนี้ช่วยฟื้นฟูโรคได้อย่างไร? (Program therapy)

ศูนย์สุขภาพชีวาแคร์ ให้บริการตรวจประเมิน รักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคสมองและมีทีมงานกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูสภาพสมองที่สูญเสียไปให้กลับมาทำงานให้ได้มากที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตของคุณและคนที่คุณรัก

 

การรักษา (Details of therapy)

บทบาทของนักกายภาพบำบัด จะเน้นในส่วนของการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อ กำลังกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งตัว และวิเคราะห์จุดบกพร่องของผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเคลื่อนย้ายตัวบนเตียง การนั่ง การยืน การเดิน เพื่อนำมาวางแผนการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วย โดยเทคนิคที่นำมาใช้นั้นมีหลายอย่าง เช่น การช่วยขยับข้อต่อเพื่อป้องกันการยึดติด การกระตุ้นให้ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อมีกำลังมากขึ้น การฝึกการทรงตัว การปรับปรุงแก้ไขเรื่องการเดินให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ตลอดจนให้คำแนะนำการฝึกปฏิบัติตัวอย่างง่ายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามอาการ ให้สามารถทำเองได้ที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ที่บกพร่องนั้นๆ ได้

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด จะเน้นในส่วนของการส่งเสริม ฟื้นฟู ให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ประกอบไปด้วย การฝึกให้ผู้ป่วยควบคุมการเคลื่อนไหว และฝึกความคล่องแคล่วของแขน และมือ ฟื้นฟูให้ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก กลับมาทานอาหารได้อย่างปลอดภัย กระตุ้นการรับรู้ ฝึกการทำงานของสมอง ความคิด ความเข้าใจ และการแก้ปัญหา ที่่มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีการประเมิน และแนะนำการปรับสภาพบ้าน และสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

 

ระยะเวลาและความถี่ในการรักษา

ความถี่ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์, ระยะเวลา 1-2 เดือนขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับอาการ)