TMS ช่วยรักษาโรคซึมเศร้าอย่างไร?

TMS หรือ Transcranial Magnetic Stimulation เป็นการส่งคลื่นแม่เหล็กผ่านกระโหลกศีรษะเข้าไปกระตุ้นเปลือกสมองโดยตรงในตำแหน่งด้านหน้าซ้าย (DLPFC, dorsolateral prefrontal cortex) ส่งผลให้มีการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในเซลประสาทสมองในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์นี้ กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นยังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาทและปรับการทำงานของเซลประสาทได้โดยตรง (Neuroplasticity) ซึ่งผลจากการกระตุ้น TMS จะไปกระตุ้นสมองส่วนหน้าที่ทำงานน้อยลง หรือทำงานไม่สมดุลให้ปรับมาทำงานได้ดีขึ้น และยังเชื่อว่าสารสื่อประสาท serotonin จะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลทำให้อาการซึมเศร้าดีมากขึ้น


องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา(FDA)ได้ให้การรับรองการรักษาโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตั้งแต่ปี คศ.2008โดยหลักฐานงานวิจัยพบว่า เห็นผลการรักษาที่ชัดเจนมากถึงร้อยละ 40- 50 และชี้ให้เห็นว่า การบำบัดด้วยTMSช่วยให้ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาระยะยาวและลดอัตราการฆ่าตัวตายในระยะเฉียบพลันลงได้


การรักษาด้วย TMS
การรักษาซึมเศร้าที่รุนแรงที่ใช้ยาต้านซึมเศร้าไม่ได้ผล มีการรักษาโดยใช้เครื่อง ECT (Electroconvulsive Therapy)  ซึ่งมีการใช้กันมากว่า 75 ปี อย่างไรก็ตามพบว่าการทำ ECT มักจะมีผลข้างเคียงมากเช่นปัญหาต่อความจำและทำให้สมองเสื่อมเพิ่มขึ้น และจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ปัจจุบันมีวิธีปรับการทำงานของสมองอีกหลายวิธีเช่น Vagus nerve stimulation และ Transcranial magnetic stimulation (TMS) แต่การทำ VNS พบว่าจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ TMS พบว่า TMS จะสะดวกกว่าและผลข้างเคียงน้อยกว่า โดยที่ประสิทธิภาพจะดีกว่า และราคาค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า VNS ด้วย


ข้อบ่งชี้การทำ TMS ในผู้ป่วยซึมเศร้า
1. Treatment-resistant depression ซึมเศร้าที่ใช้ยาต้านซึมเศร้าไม่ได้ผล หรือทำ cognitive behavioral therapy หรือทำจิตบำบัดไม่ได้ผล
2. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงเช่นมี Suicidal risk มาก
3. ผู้ป่วยซึมเศร้าที่ไม่สามารถใช้ยาต้านซึมเศร้าได้เช่นมีอาการแพ้ยาต้านซึมเศร้า
4. ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ทำ ECT แต่ไม่สามารถยอมรับผลข้างเคียงจากการทำ ECT ได้

ที่มา : Sukumvithospital & Neurotelemedicine 

  • แชร์

แพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง