Abduction – การกางแขนขาออกจากเส้นกลางหรือศูนย์กลางลำตัว
Adduction – การกางแขนขาเข้าสู่เส้นกลางหรือศูนย์กลางลำตัว
Ataxia – การประสานงานของกล้ามเนื้อที่แสดงออกเมื่อพยายามเคลื่อนไหวกล้ามที่อยู่ภายใต้อำนาจของจิตใจ
Base of support – การลงน้ำหนักผ่านข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย เช่น การยืนบนเท้า เป็นต้น
Bilateral – เกี่ยวกับสองซีกของร่างกายคือ แขนหรือขาทั้งสองข้าง
Calcaneal Valgum – ลักษณะการทำมุมของส้นเท้าเมื่อแยกเท้าออกจากกัน เช่นนี้เป็นการทำให้ส่วนโค้งของเท้าแบนลง
Calcaneal Varum – ลักษณะการทำมุมของส้นเท้าเมื่อชิดเท้าเข้าด้วยกัน, เช่นจะเป็นการเพิ่มหรือทำให้ส่วนโค้งของเท้าสูงขึ้น
Cervical – เกี่ยวกับคอ
Core – เกี่ยวกับลำตัว (ท้องส่วนต้นและหลัง)
Dissociation – การแยกกัน ยกตัวอย่าง การกางแขนขาจนสุดออกไปด้านใดด้านหนึ่งโดยอีกข้างหนึ่งไม่ทำการเคลื่อนไหวอย่างเดียวกัน หรือทำการเคลื่อนไหวที่คล้ายกันในเวลาเดียวกัน
Distal – ไกลที่สุดจากศูนย์กลาง จากเส้นกลางหรือจากลำตัว
Dynamic – เกี่ยวกับพลังชีวิตหรือกำลังภายใน อ้างถึงร่างกายขณะเคลื่อนไหว ตรงข้ามกับการหยุดนิ่ง
Extension – การเหยียด หรือการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังหรือแขนและขาไปด้านหลัง
External rotation – การหมุนแขนหรือขาออกจากลำตัว
Flexion – การงอ หรือการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าของกระดูกสันหลังและแขนขา
Genu Valgum – การทำมุมกันของเข่าเมื่อ “ชิดเข่า” เข้าหากัน
Genu Varum – การทำมันกันของเข่าเมื่อ “โก่งขา” ออกจากกัน
Gross Motor – อ้างอิงถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มกล้ามเนื้อ
Hamstrings – กลุ่มของกล้ามเนื้อหลังของต้นขาที่สามารถทำให้โค้งหรืองอเข่าและเหยียดหรือยืดสะโพกได้
Hyperextension – การเคลื่อนไหวผิดปรกติในทิศทางที่สามารถเคลื่อนไหว้ได้
Hypermobility – การเคลื่อนไหวมากกว่าพิสัยของการเคลื่อนไหวตามปกติ
Hypertonic – ความตึงของกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ การต่อต้านการช่วยการเคลื่อนไหว้ มีภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อสูง
Hypotonic – กล้ามเนื้อหย่อนกว่าปกติ
Internal rotation – หมุนแขนหรือขาเข้าหาลำตัว
Instability – ไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้อย่างมั่นคง มีความลำบากในการทรงตัว
Kinesthesia – ความรู้สึกตัว (การรับรู้) ของการเคลื่อนไหวของลำตัว (ทิศทางและความเร็ว) ตามข้อต่อต่างๆ
Kyphosis – เพิ่มความนูนในความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอก (หลังค่อม)
Long-sitting – การนั่งโดยขาทั้งสองข้างเหยียดไปข้างหน้า
Lordosis – ส่วนโค้งด้านหน้าของเอวและกระดูกสันหลังส่วนคอ (กระดูกสันหลัง) การเพิ่มขึ้นมักหมายถึง “สันหลังโค้งแอ่น”
Lumbar – เกี่ยวกับหลังส่วนล่าง
Midline – เส้นทางทฤษฎีที่แบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วนเท่ากันทั้งที่เป็นแนวตั้งและแนวนอน
Motor Control – ความสามารถของระบบประสาทส่วนกลางในการกำหนดหรือสั่งระบบกล้ามเนื้อและกระดูกให้ทำตามความประสงค์ในท่าต่างๆ
Motor Planning – ความสามารถในการจัดการและปฏิบัติการเคลื่อนไหวที่มีความหมายอย่างเหมาะสม
Obliquity – เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
Pes Planus – เท้าแบน
Prone – นอนราบบนท้อง หน้าคว่ำ
Proprioception – การตระหนักรู้ถึงท่าท่า การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนจุดศูนย์กลาง และความรู้เรื่องตำแหน่ง น้ำหนัก แรงต้านของวัตถุ ที่เกี่ยวกับร่างกาย การรับรู้ด้วยกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน
Proximal – ใกล้จุดที่ติดกัน หรือศูนย์กลางของร่างกาย
Quadriceps -กลุ่มกล้ามเนื้อกลุ่มด้านหน้าของขาหน้าทำหน้าที่ในการยืดเข่า
Range of Motion – วัดปริมาณการเคลื่อนไหวได้ในแต่ละข้อต่อของร่างกาย
Recurvatum – การดันไปข้างหลัง มักใช้กับเข่า
Reflex – การตอบสนองโดยอัตโนมัติเมื่อมีการกระตุ้น
Ring Sitting – นั่งบนสะโพกด้วยขาทั้งสองข้างแล้วหมุนเป็นรูปวงแหวน (ไม่ไขว่กัน)
Sacral – กระดูกรูปสามเหลี่ยมต่ำกว่ากระดูกบั้นเอว โดยมากหมายถึงกระดูกสันหลัง 5 ชิ้น
Side-sitting – การนั่งบนสะโพกด้านเดียวโดยขาทั้งสองข้างโย้ไปด้านตรงข้าม
Spasticity – กล้ามเนื้อตึงมากทำให้แข็งและทำให้มีท่าทางการเคลื่อนไหวแปลกๆ
Static – พักผ่อน อยู่ในจุดศูนย์กลาง ไม่ขยับ
Supine – นอนบนหลัง งายหน้าขึ้น
Symmetrical – อ้างอิงถึงความสมมาตรของร่างกาย ที่มีครึ่งซ้ายและครึ่งขวาเท่ากัน
Tactile Defensiveness – การตอบสนองเชิงลงหรือการเพิ่มความอ่อนไหวเมื่อถูกสัมผัส
Tailor-sitting – นั่งบนสะโพกบนพื้นโดยขาทั้งสองข้างงอและไขว่กัน (“การนั่งขัดสมาธิ”)
Thoracic – ที่เกี่ยวกับ หรือส่งผลกระทบต่ออก และหลังส่วนล่าง
Tone (muscle) – ความตึงของกล้ามเนื้อที่แสดงเมื่อกล้ามเนื้อผ่อนคลาย
Unilateral – ผลกระทบหรือการเกิดขึ้นกับร่างกายข้างเดียว
Vestibular Stimulation – การกระตุ้นอวัยวะที่เกี่ยวกับการทรงตัว (กระดูกด้านในหูและช่องหู) ที่ส่งข้อมูลผ่านการกระตุ้นและท่าทางของร่างกายในช่องหู
Weight shift – การเปลี่ยนหรือการเคลื่อนไหวน้ำหนักตัวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ไปข้างหน้าหรือไปข้างหลัง