ในระหว่างที่คุณกำลังนั่งขับรถ อาจเกิดอาการปวดเมื่อยหลัง
ในระหว่างที่คุณกำลังนั่งขับรถ อาจเกิดอาการปวดเมื่อยหลัง
ผศ. นพ. ปกรณ์ วิวัฒน์วงศ์วนา เป็นส่วนหนึ่งของชีวาแคร์ ช่วยดูแลการให้โปรแกรมการบริการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และให้การดูแลคนไข้ที่ทำ intensive stoke recovery กับเราเป็นพิเศษ ผศ. นพ. ปกรณ์ จบเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และได้ศึกษาต่อ Harvard Medical School มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความผิดปกติหรือมีโรคสมอง โรคระบบประสาท ไขสันหลัง กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ
แพทย์หญิงอังคนา นัดสาสาร เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทและสมอง โดยทำงานเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่ศูนย์โรคสมองภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ญ. อังคณา ได้รับการชื่นชมว่าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางสมองและระบบประสาทที่เน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างองค์รวม เพื่อจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากโรคมากที่สุด พ.ญ.อังคณา เชี่ยวชาญในการให้การรักษาโรคทางระบบประสาทและสมอง ดูแลป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นจำนวนมาก มีความสามารถใช้เครื่องมือตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (Electrodiagnostic testing) และการตรวจความผิดปกติทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic function test) งานอดิเรกของ พ.ญ.อังคนา คือ เลี้ยงและเอาใจใส่สุนัขและแมว
เรามีความยินดีตอบคำถามที่เกี่ยวกับการให้บริการและผลิตภัณฑ์ของเรา สำหรับผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กรต่าง ๆ กรุณาคลิกที่นี่
จบการศึกษาจาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2016 ในระดับปริญญาตรี ชุติกาญจน์ เคยทำงานในฐานะนักกิจกรรมบำบัด ในผู้ป่วยทางระบบประสาท โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทางสมอง ให้การบำบัดรักษาเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน กำลังกล้ามเนื้อ ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนระยางค์บน การรับรู้ความคิดความเข้าใจ และการพูดเบื้องต้น ในโรงพยาบาล ระหว่างปี 2016-2018 เธอผ่านการอบรมเรื่องผู้ดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น และการฟื้นฟูเบื้องต้นด้านการกลืนในผู้ป่วยทางระบบประสาท ชุติกาญจน์บำบัดรักษาผู้ป่วยด้วยความเห็นใจ เข้าถึงจิตใจ ความรู้สึกของผู้ป่วย และมีความหวังอยู่เสมอว่าพวกเขาจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามศักยภาพที่มีได้อย่างมากที่สุด ในเวลาว่างเธอชอบที่จะไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆที่ไม่เคยไป และใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว
กัญญาณัฐ พุทธิมา สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประสบการณ์การทำงานกายภาพบำบัดในคลินิก 2 ปี ทางด้านฟื้นฟูผู้ป่วยระบบประสาท ที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อให้กลับมาช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด ผู้ป่วยระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ และการให้คำแนะนำเรื่องการปรับท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวันแก่บุคคลทั่วไป เคยผ่านการอบรม การประยุกต์ออกกำลังกายในน้ำสำหรับผู้ป่วย มีประสบการณ์สอนหลักสูตรผู้ช่วยกายภาพบำบัด ด้านทำงานเพื่อสังคม ขณะศึกษา ได้เป็นอาสาสมัครชมรมอาสาพัฒนาและช่วยเหลือคนในถิ่นทุรกันดาร เธอรับฟังปัญหาของคนไข้ได้ดีเสมอ และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยเสมอ เหมือนคติประจำใจในรักษาคนไข้ของเธอที่ว่า “รอยยิ้มของคนไข้คือ งานกายภาพบำบัดของฉัน”
ฉันเป็นนักกิจกรรมบำบัดและลูกค้าสัมพันธ์ จบจากคณะเทคนิคการแพทย์ สาขากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย ฉันเป็นสมาชิกของชมรมอาสา จึงได้เข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆมากมาย เวลาว่างฉันมักจะเล่นอินเตอร์เน็ต ดูหนัง อ่านหนังสือ และเข้าร่วมชมรมต่างๆที่สนใจ ฉันเป็นคนที่เป็นมิตร เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ฉันรู้สึกดีใจมากๆที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวาแคร์ เพราะที่นี่ทำให้ฉันได้เรียนรู้หลายๆสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน และได้มีโอกาสทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ และฉันหวังว่า ฉันจะสามารถช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามความสามารถที่เหลืออยู่ และมีภาวะสุขสมบูรณ์ในชีวิต
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญเงินจากคณะเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เธอมีความเชื่อว่านักกายภาพบำบัดที่ดีจะต้องรักษาโดยไม่คิดว่าคนไข้เป็นแค่คนไข้ แต่ให้คิดว่าเป็นคนๆนึง เธอมีความสนใจทางคลินิกในด้านอาการปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อาการปวดหลังผ่าตัด การบาดเจ็บทางกีฬาและการป้องกันการหกล้ม นอกจากนี้ในเวลาว่างเธอยังชอบไปออกกำลังกาย เดินป่า และถ่ายรูปอีกด้วย
จบการศึกษาจากคณะเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี 2018 ก่อนที่เธอจะจบหลักสูตรเธอได้มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศจีนเป็นระยะเวลา 1 ปี และภาษาจีนจึงกลายเป็นภาษาที่สามของเธอ ระหว่างที่เธอยังเป็นนักศึกษากายภาพบำบัดอยู่นั้นเธอได้มีโอกาสได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เหมียวมีความภาคภูมิใจอย่างมากในฐานะนักกายภาพบำบัดและเชื่อว่าอาชีพนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไข้กลับมามีความสุขในชีวิต เธอมีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับ ความเจ็บปวดเกี่ยวกับโรคกระดูก การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและหัวใจ การออกกำลังกายแบบผสมผสาน การบำบัดด้วยตนเอง และวารีบำบัด เมื่อเหมียวอายุ 8 ปี เธอได้เข้าร่วมชมรมเต้น และทำสิ่งนั้นเป็นระยะเวลาหลายปีจนสามารถเต้นได้ในระดับสูง ในระหว่างการศึกษา เธอได้กลายเป็นผู้นำการเต้นออกกำลังของโครงการส่งเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรของคณะเทคนิคการแพทย์ มช. และเป็นผู้นำเชียร์ของคณะเทคนิคการแพทย์ มช. การท่องเที่ยว และไปต่างประเทศเพื่อเปิดโลกกับผู้คนและวัฒนธรรมต่างถิ่น เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เธอได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ในชีวิต
เกศสุภีย์ พิธุพันธ์ (ป๊อป) ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาทั่วไปของบริษัท เธอช่วยบริหารจัดการจัดร้านค้าและผลิตภัณฑ์ของ ChivaCare และยังเป็นผู้ประสานงานด้านกิจกรรมสร้างสรรค์ เธอเน้นการดูแลด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ศิลปะเพื่อการบำบัด ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์กิจกรรมที่เหมาะสมแก่รักษาอาการของผู้ป่วยในแต่ละโรคขึ้นมาโดยเฉพาะ เกศสุภีย์ เป็นเจ้าของร้าน PopHobbyCraft ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับงานหัตถกรรมและงานศิลปะ เธอยังเป็นผู้จัดร่วมของงาน TEDxChiangMai และเป็นสมาชิกที่มีบทบาทโดดเด่นในหลายสมาคมและในหลายเครือข่าย ด้วยประวัติการทำงานเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจด้านการบริการและการท่องเที่ยว เธอสามารถพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์และกิจกรรมที่มีรากฐานมาจากงานศิลปะที่มีหลักฐานรับรองว่าสามารถส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี เธอจบการศึกษาด้านศิลปศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร และจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะนิเทศน์ศาสตร์ จาก New York Institute of Technology
รองศาสตราจารย์ ดร. สุรัตน์ ตัณประเวช แพทย์เวชปฏิบัติทางประสาทวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านสมองและความผิดปกติทางประสาทวิทยา ด้วยปริญญาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาประสาทวิทยา และปริญญาโทในหลักสูตร MSc ด้านประสาทวิทยา จาก Institute of Neurology (ION), University College London (UCL) ดร. สุรัตน์ ตัณประเวช ทำงานในฐานะผู้ช่วยนักวิจัยที่ the Headache Group ณ ลอนดอนในระหว่างปี พ.ศ. 2552-2553 และทำงานเป็นตัวแทนของ ASIA ในกลุ่ม the International Working Group of Young Neurologists and Trainees (IWGYNT) ในปี พ.ศ. 2553- 2558 และดำรงตำแหน่งสมาชิกของทีมสื่อสังคมออนไลน์ของ World Federation of Neurology (WFN) เขาเป็นยังเป็นผู้ก่อตั้ง และเป็นหัวหน้าของ Headache Study Group (CMU-HUG) ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ทำงานวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะ งานวิจัยของเขาเป็นที่รู้จักในระดับภูมิภาคโดยเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวกับการรักษาโรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดในสมอง และการติดเชื้อในกระประสาท รศ. ดร. สุรัตน์ มีประสบการณ์อย่างยอดเยี่ยมในการบูรณาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยเขาเป็นผู้ก่อตั้ง “Smile Migrain application (2018)” ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาใน “Readjust project (2016)” และจัดทำกิจกรรม “Cognitive game (2017)” ร่วมกับ TCDC คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ENSCI Les ateliers (Paris) เขาได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก Innovation Hub ในโครงการ “Smart Home, Smart Living for Aging Society (2017) ร่วมกับทีมงานจากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Makerspace Thailand
มาร์ติน เฟ็นสกรี้-สตาล์ลิ่ง มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปี เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการพัฒนาธุรกิจในระดับภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง เขามีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการบริการ และนวัตกรรมด้านรูปแบบของแผนธุรกิจประเภทต่างๆ มาร์ติน ทำงานให้กับบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง เช่น PricewaterhouseCoopers (PwC), Roland Berger, GIZ, PCCW และ World Bank อีกทั้งยังทำงานให้แก่องค์กรภาครัฐในระดับท้องถิ่นและองค์กรเอกชนอีกด้วย เขาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) ซึ่งเป็นองค์กรผู้นำท้องถิ่นด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ อาทิเช่น เชียงใหม่สร้างสรรค์ และ TEDxChiangMai มาร์ตินมีพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับหลายชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ เขามีบทบาทเป็นผู้ขับเคลื่อนพันธมิตรในระดับนานาชาติให้กับ ChivaCare และ STeP ในช่วงระเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา มาร์ติน คลุกคลีกับการทำงานในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรม MICE อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ อุตสาหกรรมเชิงสุขภาพ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เขาพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว และถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ เชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น และเชิงศิลปหัตถกรรม รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และเชิงสุขภาพ ตลอดจนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ล่าสุดเขาได้เข้าร่วมทีมสหวิทยาการในการศึกษาทางเลือกใน “การอาศัยอยู่ในบ้านที่มีอยู่แล้ว” และทำงานร่วมกับองค์กรในท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้สูงอายุ ยามว่าง มาร์ติน ชอบใช้เวลากับครอบครัว และปั่นจักรยานท่องเที่ยวไปตามพื้นที่ในชนบท อ่านหนังสือ ว่ายน้ำ และจัดการกิจกรรมในชุมชน มาร์ตินแต่งงานและมีลูกชาย 2 คนกับภรรยาซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาวรรณกรรมการละครและศิลปะการแสดงที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีเตอร์ เป็นผู้นำทีมด้านนวัตกรรมและผู้ประกอบการในโครงการหลายโครงการทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เขาก่อตั้งและสร้างบริษัทสตาร์ทอัพหลายบริษัท อาทิเช่น บริษัท Avalanche Systems ซึ่งเขาได้มีส่วนในการเพิ่มศักยภาพและผสมผสานการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบดิจิทัลมาใช้ในการบริหารองค์กร ณ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ในตำแหน่งประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายสร้างสรรค์ จึงถือได้ว่าเขาเป็นผู้นำการริเริ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวในยุคบุกเบิกการปฏิวัติการออกแบบทางดิจิทัลก็ว่าได้ หลังจากที่บริษัทได้ควบกิจการกับบริษัท Razorfish ปีเตอร์ก็ได้เป็นตัวแทนในการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างสองบริษัทในฐานะประธาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสร้างสรรค์ มีลูกจ้างกว่า 2,000 คนทั่วโลก เขาจัดตั้งและทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการให้กับบริษัท MiGenetics โดยพัฒนาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบพันธุศาสตร์นิรนาม และทำเหมืองข้อมูลสำหรับการทบสอบอาการทางพันธุศาสตร์ให้แก่ลูกค้า เขายังดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริษัท Eyebeam ซึ่งเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีชั้นนำ และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริษัทที่ Creative Capital ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินและทางด้านศิลปะเพื่อสนับสนุนให้ศิลปินมากมายได้สร้างสรรค์โครงการที่ท้าทายต่อความสามารถของศิลปินเหล่านั้น
ปีเตอร์ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาโปรแกรมนวัตกรรมที่เชื่อมเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กรด้วยการใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ เขาจบการศึกษาจากภาควิชาปรัชญาที่ CUNY ณ นครนิวยอร์ค และได้จบหลักสูตร (Master of Fine Art) MFA สาขาศิลปะเชิงแนวคิด ณ CalArts และจบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีที่ Whitney Museum’s prestigious Independent Studies Program (ISP) หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่ Havard Business School ปีเตอร์ สำเร็จหลักสูตร OPM โดยใช้เวลาศึกษาทั้งหมด 3 ปี และผ่านการอบรมการเป็นที่ปรึกษาที่ CTI ณ นครบอสตัน เขายังได้ศึกษาเกี่ยวกับพุทธศาสตร์มายาวนานกว่า 30 ปี ปีเตอร์สอนการนั่งสมาธิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และสอนเพื่อร่วมงานเกี่ยวกับการนั่งสมาธิผ่านประสบการณ์ปฏิบัติธรรมของเขาเพื่อช่วยให้เพื่อนร่วมงานได้ในตระหนักถึงความสามารถที่แท้จริงของพวกเขา ปัจจุบันปีเตอร์อาศัยอยู่กับคุณ ชนันญา (Chanaya) ผู้เป็นภรรยาและลูกทั้ง 3 คน ของเขาที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่